วันจันทร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ครก.112" ออกแถลงการณ์ไว้อาลัย "อากง" พร้อมแจ้งกำหนดการเคลื่อนไหว 27 พ.ค.นี้

ขอไว้อาลัยต่อการจากไปของนายอำพล หรืออากง เหยื่อมาตรา 112
 คณะกรรมการรณรงค์แก้ไขมาตรา 112
10 พฤษภาคม 2555

การเสียชีวิตของนายอำพล (ไม่เปิดเผยนามสกุล) หรืออากง ในทัณฑสถานอย่างฉับพลันเมื่อวันที่ 8 พ.ค. ที่ผ่านมา ได้สร้างความเศร้าสลดให้แก่ครอบครัวของนายอำพลอย่างยิ่ง พวกเขาไม่มีแม้แต่โอกาสจะได้ร่ำลาก่อนที่นายอำพลจะจากโลกนี้ไป  คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) จึงขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวของนายอำพล ที่ต้องเผชิญกับโศกนาฏกรรมอันเจ็บปวดครั้งนี้  เป็นโศกนาฏกรรมที่พวกเขาเองก็ไม่รู้ว่าจะเรียกร้องหาความยุติธรรมได้จากใคร

เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า นายอำพลยืนยันตลอดมาว่าตนมีความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ เคยพาหลานๆ ไป รพ. ศิริราช เพื่อร่วมถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แม้จะเคยไปร่วมชุมนุมกับทั้งคนเสื้อเหลืองและเสื้อแดง แต่นายอำพลก็ไม่ได้เป็นคนเสื้อแดง ภาระหน้าที่หลักของชายชราคนนี้คือ ดูแลหลาน 7 คน แต่เมื่อตกเป็นเหยื่อของกฎหมายอาญามาตรา 112 จึงทำให้เขากลายมาเป็น "นักโทษการเมือง" ในทันที ซึ่งนี่เป็นจุดเริ่มต้นของโศกนาฏกรรมของนายอำพลและครอบครัว กล่าวคือ

•       คำตัดสินจำคุกนายอำพลถึง 20 ปีเพราะส่ง sms 4 ครั้ง แม้ว่าจะมี "ข้อกังขามากมาย" ต่อหลักฐานของฝ่ายอัยการก็ตาม  ชี้ว่าสังคมไทยในปัจจุบัน นักโทษการเมืองคดี 112 คือผู้ที่ต้องถูกลงโทษอย่างรุนแรงที่สุด  และเป็นการลงโทษที่ไม่ต้องคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน หลักมนุษยธรรม หรือเมตตาธรรมใดๆ ทั้งสิ้น

•       ด้วยเหตุอันเดียวกันนี้ "นักโทษการเมืองคดี 112" จึงมักถูกปฏิเสธสิทธิการประกันตน อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองทุกคน แม้ว่านายอำพลจะมีอายุมาก สุขภาพทรุดโทรม เคยป่วยเป็นมะเร็งในช่องปาก ไม่เคยทำร้ายใคร ยากจน การศึกษาน้อย ไม่มีญาติพี่น้องในต่างประเทศ ศาลก็ปฏิเสธไม่ให้ประกันตนถึง 8 ครั้ง ด้วยข้ออ้างว่าเป็นคดีร้ายแรง กลัวจะหลบหนี
 
สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับนักโทษการเมืองคดี 112 คนอื่นๆ เช่นกัน มันจึงชี้ว่านักโทษการเมืองคดี 112 ได้ถูกละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานมากเสียยิ่งกว่านักโทษคดีอาญาทั่วไป

เหตุผลที่นักโทษการเมืองคดี 112 มักถูกลงโทษอย่างรุนแรงนั้น ปรากฏชัดเจนในบทความ "อากงปลงไม่ตก′เปิดคำเฉลย!ที่มาแห่งคดีโดยโฆษกศาล" ของนายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม (14 ธ.ค. 2554) ที่ว่า  "สำหรับบุคคลที่เจนโลก โชกโชน สันดานเป็นโจรผู้ร้าย มีเจตนาทำร้ายสังคมสถาบันหลักของประเทศชาติและองค์พระประมุข อันเป็นที่เคารพสักการะของคนในชาติให้เกิดความหลงผิดก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง ผู้เขียนเชื่อว่า ไม่มีใครอยากให้คนเช่นนี้ลอยนวลอยู่ในสังคมเพื่อสร้างความเสียหายต่อเนื่อง หรือแก่ผู้อื่นอีก เพราะสักวันคนใกล้ตัวของคนเหล่านี้อาจตกเป็นเหยื่อด้วยก็ได้ มาตรการที่เหมาะสมจึงควรตัดโอกาสในการกระทำผิด ลงโทษให้หลาบจำสาสมไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น"

คงไม่ผิดนักที่จะชี้ว่า ทัศนคติดังกล่าวได้ครอบงำกระบวนการยุติธรรม หน่วยงานรัฐ นักการเมือง สื่อมวลชนและวัฒนธรรมการเมืองไทยกระแสหลัก  ทัศนคติและการปฏิบัติข้างต้นจึงนำไปสู่ความตายของนายอำพลในที่สุด

เฉพาะส่วนที่นายสิทธิศักดิ์กล่าวว่า "ไม่มีใครอยากให้คนเช่นนี้ลอยนวลอยู่ในสังคมเพื่อสร้างความเสียหายต่อเนื่อง หรือแก่ผู้อื่นอีก เพราะสักวันคนใกล้ตัวของคนเหล่านี้อาจตกเป็นเหยื่อด้วยก็ได้" เป็นคำกล่าวที่ไร้สาระ คำว่า "อาจตกเป็นเหยื่อ" คืออะไร? หมายถึงอาจถูก "ดูหมิ่น หมิ่นประมาท" หรือ? หากเป็นเช่นนั้นก็ไม่ได้เป็นเรื่องน่ากลัวร้ายแรงแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องปรกติของการอยู่ร่วมกันในสังคมซึ่งสามารถดำเนินการตามกฎหมายปรกติ ประชาชนชาวไทยอยู่กันมาได้โดยไม่ต้องมีกฎหมายรุนแรงเกี่ยวกับการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้าย เพราะไม่ใช่ภัยร้ายแรงแต่อย่างใด  แม้แต่คำกล่าวของโฆษกศาลฯ ที่ยกมานี้ ก็ถือได้ว่าเป็นข้อความหมิ่นประมาทนายอำพลโดยแท้  ถ้าโฆษกศาลฯ ยังสามารถแสดงพฤติกรรมหมิ่นประมาทผู้อื่นได้โดยไม่มีความผิด การไม่ยอมปล่อยตัวนายอำพลชั่วคราวซึ่งเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญยิ่งไม่มีข้อแก้ตัวในทางสังคม

ในทางตรงกันข้าม เราควรเปลี่ยนคำบางคำของโฆษกศาลเสียใหม่ว่า "ไม่มีใครอยากให้กฎหมายอยุติธรรมนี้ลอยนวลอยู่ในสังคมเพื่อสร้างความเสียหายต่อเนื่อง หรือแก่ผู้อื่นอีก เพราะสักวันคนใกล้ตัวของคนเหล่านี้ อาจตกเป็นเหยื่อด้วยก็ได้"

เราไม่ได้คาดหวังว่าผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโศกนาฏกรรมของครอบครัวนายอำพลทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม จะสำนึกผิดในกรรมที่ตนได้กระทำไว้ แต่เราหวังว่าประชาชนที่ได้ติดตามคดีของนายอำพลอย่างต่อเนื่อง  และตระหนักถึงปัญหาของมาตรา 112 จะช่วยกันทำให้กฎหมายที่ อยุติธรรมนี้ยุติการทำร้ายประชาชนเสียที แม้ว่าจะต้องใช้เวลานานก็ตาม

----------------
               
อนึ่ง การเสียชีวิตของนายอำพล ทำให้ผู้สื่อข่าวจำนวนมากได้สอบถามเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของ ครก.112  เราจึงเห็นควรแถลงข่าวก่อนเวลาที่กำหนดไว้ดังนี้

1.             การรณรงค์เพื่อรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อเสนอ "ร่างแก้ไขประมวลอาญามาตรา 112 ของคณะนิติราษฎร์" ได้ครบกำหนด 112 วัน เมื่อวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมา ในขณะนี้ ทางครก.112  ได้รับรายชื่อมากกว่าหนึ่งหมื่นแล้ว อันเป็นจำนวนขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด เราจะแจ้งจำนวนที่แน่ชัดอีกครั้งในวันที่ 27 พ.ค.นี้ เนื่องจากยังมีเอกสารจำนวนมากที่ยังไม่ได้ตรวจนับ และประชาชนยังทยอยส่งรายชื่อเข้ามาอย่างสม่ำเสมอ

2.             ครก.112 กำหนดให้มีการจัดงาน "บันทึก 112 วัน แก้ไข ม.112" ในวันอาทิตย์ที่ 27 พ.ค.นี้ เพื่อสรุปและปิดการรณรงค์การรวบรายชื่อเพื่อแก้ไขมาตรา 112 ดังรายละเอียดที่ด้านล่างนี้

งาน "บันทึก 112 วัน แก้ไข ม.112"

วันที่ 27 พ.ค. 55 ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทน์

13.00-13.15 น.   "ครก. แถลง" โดย

-วาด รวี  กลุ่มแสงสำนึก

- ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์

13.15-13.45 น.    "เสียงจากเหยื่อ 112"

13.45-14.00 น.   บทกวี โดย ไม้หนึ่ง ก. กุนที, กฤช เหลือลมัย, คาล รีอัล

14.00-15.00 น.  เล่าประสบการณ์ "อ้อมกอดและกำปั้น 112 วัน ของการรณรงค์"              
- วาด รวี                 กลุ่มแสงสำนึก

- สุดา รังกุพันธุ์   อักษรศาสตร์ จุฬาฯ

- ปิยะบุตร แสงกนกกุล     คณะนิติราษฎร์

- เวียงรัฐ เนติโพธิ์              รัฐศาสตร์ จุฬาฯ   ดำเนินรายการ

15.00-15.15 น.   แสดงดนตรีโดย วง  the Middle Finger

15.15-17.00 น.   เสวนา "ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์"                               
- ชาญวิทย์ เกษตรศิริ          นักวิชาการอิสระ
                               
- นิธิ เอียวศรีวงศ์                 นักวิชาการอิสระ
                               
- วรเจตน์ ภาคีรัตน์             คณะนิติราษฎร์
                               
- พวงทอง ภวัครพันธุ์        ดำเนินรายการ

พิธีกรตลอดรายการ             วันรัก สุวรรณวัฒนา  คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ 
  http://www.youtube.com/watch?v=PRRZv36RyqU
ควรยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือไม่ ? (บทความพิเศษ)
การยกเลิกมาตรา 112 มีผลทำให้ประมุขของรัฐซึ่งถูกจำกัดสิทธิที่จะคุ้มครองตนเองโดยฐานะของตนในทางพฤตินัยไม่ได้รับความคุ้มครองและเสียสิทธิที่จะปกป้องตนเองในทางนิตินัยไปพร้อมกันด้วย
ผู้เขียนเป็นนักเรียนโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย รุ่นแรก จบกฎหมายจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยรับราชการเป็นผู้พิพากษาและเป็นอาจารย์พิเศษสอนในมหาวิทยาลัย ปัจจุบันยังคงทำงานด้านกฎหมายอยู่ ผู้เขียนเคยได้รับทุนฟูลไบรท์ไปศึกษาวิชากฎหมายที่ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งถือเป็นประเทศประชา ธิปไตยเต็มรูปแบบของโลก เนื่องจากขณะนี้มีปัญหาถกเถียงกันอยู่ว่าประเทศไทยควรจะมีกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือไม่ ? ซึ่งผู้เขียนขอแสดงความเห็นในด้านกฎหมายเพื่อประกอบการพิจารณาของท่านทั้งหลายไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ประเทศไทยกำหนดห้ามหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และห้ามหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาไว้ในมาตรา 326 ความว่า
 " มาตรา 112 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี "
 " มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ "
ข้อแตกต่างของความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์กับบุคคลธรรมดาประการแรกก็คือ มาตรา 112 เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ซึ่งหมายความว่ารัฐเป็นผู้เสียหายและเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องดำเนินการกับผู้กระทำความผิด ส่วนมาตรา 326 เป็นความผิดอันยอมความได้หรือความผิดต่อส่วนตัวซึ่งถ้าไม่มีผู้เสียหายไปแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษเจ้าหน้าที่รัฐก็จะไม่ดำเนินคดีให้ เหตุที่บัญญัติไว้แตกต่างกันเช่นนี้เพราะไม่มีประเทศใดในโลกที่ประมุขของรัฐจะไปฟ้องร้องกล่าวโทษพลเมืองของตนเอง หากยกเลิกมาตรา 112 ก็เท่ากับเป็นการจำกัดสิทธิประมุขแห่งรัฐไม่ให้สามารถคุ้มครองตนเองจากการถูกหมิ่นประมาทได้
ยิ่งกว่านั้นการ " หมิ่นประมาท " หมายความว่า ใส่ความโดยไม่เป็นความจริงในลักษณะที่ทำให้ผู้ได้ยินได้ฟังเกลียดชังผู้ถูกใส่ความซึ่งเป็นการกระทำอันชั่วร้ายผิดศีลธรรม การยกเลิกมาตรา 112 มีผลทำให้ประมุขของรัฐซึ่งถูกจำกัดสิทธิที่จะคุ้มครองตนเองโดยฐานะของตนในทางพฤตินัยไม่ได้รับความคุ้มครองและเสียสิทธิที่จะปกป้องตนเองในทางนิตินัยไปพร้อมกันด้วย
ข้อ 2.กฎหมายอาญาของไทยเป็นกฎหมายที่มีความเป็นสากล กล่าวคือ ให้ความคุ้มครองประมุขของรัฐต่างประเทศและผู้แทนของรัฐต่างประเทศด้วยดังจะเห็นได้จากมาตรา 133 และ มาตรา 134 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า
" มาตรา 133 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายราชาธิบดี ราชินี ราชสามี รัชทายาท หรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปีหรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ "
" มาตรา 134 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายผู้แทนรัฐต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาสู่พระราชสำนัก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปีหรือปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ "
ถ้ายกเลิกมาตรา 112 ผลตามกฎหมายก็คือ ประเทศไทยให้ความคุ้มครองประมุขแห่งรัฐต่างประเทศแต่ไม่คุ้มครองประมุขของตนเองซึ่งเป็นเรื่องผิดวิสัยของอารยประเทศอย่างยิ่ง หากจะยกเลิกมาตรา 133 และมาตรา 134 ไปพร้อมกับมาตรา 112 ผลก็คือประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศป่าเถื่อนในสายตาสังคมโลกและไม่มีประเทศที่เจริญแล้วประเทศใดในโลกคบค้าสมาคมด้วย เพราะไม่ให้เกียรติแก่ประมุขของเขาซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์แห่งเกียรติยศสูงสุดของประเทศเหล่านั้น
ข้อ 3. ในสังคมระหว่างประเทศมีหลักในการอยู่ร่วมกันข้อหนึ่งคือหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติโดยเท่าเทียมกัน ( Reciprocity ) กฎหมายของประเทศที่เจริญแล้วในโลกไม่ว่าจะมีประมุขเป็นพระมหากษัตริย์ หรือประธานาธิบดี หรือเรียกชื่ออื่นใดก็ตาม ย่อมถือว่าประมุขของประเทศใดเป็นตัวแทนหรือสัญลักษณ์ของประเทศนั้น แต่ละประเทศจะให้ความคุ้มครองสูงสุดแก่ประมุขของตนและให้ความคุ้มครองแก่ประมุขของประเทศอื่น เพื่อประเทศอื่นจะได้ให้ความคุ้มครองแก่ประมุขของตนเองด้วยแล้ว ย่อมมีผลทำให้ประเทศไทยต่ำต้อยกว่าประเทศอื่นใดในสายตาชาวโลก
ข้อ 4. ประมุขของประเทศใดก็ตามย่อมถือเป็นเกียรติยศสูงสุดของประเทศนั้นหากประมุขของประเทศใดไร้เกียรติพลเมืองของประเทศนั้นย่อมต่ำต้อยไร้ค่ากว่าพลเมืองของประเทศอื่นในโลก ถ้าคนไทยยังรักที่จะเป็นคนที่มีเกียรติก็จะต้องรักษาเกียรติยศแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของประเทศไว้สูงสุดจึงจะทำให้คนไทยมีเกียรติเหมือนพลเมืองชาติอื่นในโลก
ข้อ 5. ประมุขของแต่ละประเทศทั้งที่ได้รับการเลือกตั้งหรือโดยการแต่งตั้งล้วนแต่เป็นผู้ที่ถูกคัดเลือกขึ้นเพื่อให้เป็นสัญลักษณ์แห่งเกียรติยศ ขวัญและกำลังใจของประเทศนั้นๆ ความภาคภูมิใจของพลเมืองในประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้นก็คือ พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขได้รับการคัดเลือกจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ ( Supernatural ) ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าเป็นผู้มีบุญญาธิการและประกอบคุณงามความดีมาก่อน สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติจึงคัดเลือกให้มาเป็นประมุข
การแก้ไขกฎหมายใดๆ โดยไม่ได้ศึกษาถึงผลกระทบทั้งภายในประเทศและในสังคมระหว่างประเทศ รวมทั้งโดยไม่คำนึงถึงหลักนิติธรรมอาจทำให้บรรลุเป้าหมายด้านผลประโยชน์ของบุคคลบางคนบางกลุ่มแต่ก่อให้เกิดความหายนะใหญ่หลวงแก่ประชาชนส่วนใหญ่และประเทศชาติ
ขวัญชัย รัตนไชย
00000
ขอบคุณบทความดีๆ จากแนวหน้า..(คลิก)
อ่านแล้วชอบใจช่วยกันแชรต่อนะครับ
อย่างน้อยเมื่อมีคนถามมาเราก็จะได้ตอบอย่างมีเหตุผล อิงหลักกฎหมาย
โดยไม่ใช้อารมณ์ตัดสินแต่เพียงอย่างเดียว
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็ประมุข หมายถึงเราต้องปกปักรักษาทั้งประชาธิปไตยและรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ให้อยู่คู่กัน มีความเชื่อมโยงอย่างมีเหตุมีผล
ขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้
http://youtu.be/_E_FzeM3zwQ
http://youtu.be/_E_FzeM3zwQ

จุดเริ่มต้น ‘ครก.112′ บาทก้าวปฏิรูปกฎหมายหมิ่นฯ

คณะกรรมการรณรงค์แก้ไขมาตรา112
การหยิบฉวยเอามาตรา 1 2 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ว่าด้วยผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ไปใช้โจมตีอีกฝ่าย เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย ยิ่งในภาวะความขัดแย้งที่แหลมคมมากขึ้น

และไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอการยกเลิกหรือแก้ไข ก็กลายเป็นของร้อนที่มีทั้งฝ่ายหนุน-ฝ่ายต้าน ขณะที่ทุกพรรคการเมืองได้ออกมายืนยันไม่แตะต้องกับมาตรานี้ ส่วนพรรครัฐบาลอย่างเพื่อไทยก็ยังไม่มีท่าทีแก้ไข เพราะกลัวจะถูกวิจารณ์ในประเด็นความจงรักภักดีต่อสถาบัน

อย่างไรก็ตาม กระบวนการแก้ไขในส่วนของภาคประชาชนได้เริ่มเดินหน้าขึ้นแล้ว จากกลุ่มเครือข่ายปัญญาชน นักวิชาการ นักเขียน ศิลปิน ที่รวมตัวครั้งใหญ่ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 โดยมีคณาจารย์ด้านนิติศาสตร์นาม  ’นิติราษฎร์’ เป็นเจ้าภาพ และได้เปิดตัว คณะกรรมการรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ชื่อย่อว่า ‘ครก.112′ อย่างเป็นทางการด้วย  การร่วมเคลื่อนไหวอย่างเป็นรูปธรรมของคณะนิติราษฎร์ และเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมในครั้งนี้ ก็เพื่อดึงการ มีส่วนของประชาชนที่มีความเห็นร่วมกันต่อประเด็นการแก้ไขมาตรา 112

จากนี้ ‘ครก.112′ จะมีบทบาทในกระบวนการทำงาน การรวบรวมรายชื่อประชาชนให้ครบ 10,000 รายชื่อเพื่อนำเสนอต่อสภาฯ ต่อไป ส่วนคณะนิติราษฎร์ก็คือหนึ่งใน ครก.112 ซึ่งจะมีหน้าที่การให้คำแนะนำเกี่ยวกับประเด็นข้อกฎหมาย

กิจกรรมสำคัญในวันนั้น คือการตั้งโต๊ะลงชื่อประชาชนที่เห็นด้วยกับการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 พร้อมการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่.) ซึ่งจะรณรงค์เรื่องนี้ต่อไปอีก 112 วัน เพื่อผลักดันข้อเรียกร้องดังกล่าวให้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐสภาต่อไป

ทั้งนี้ การรณรงค์แก้กฎหมายครั้งนี้ นับเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 163 ระบุว่า ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามที่กำหนดในหมวด 3 และหมวด 5 แห่งรัฐธรรมนูญนี้

พร้อมกันนั้น รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์หนึ่งในคณะนิติราษฎร์ กล่าวอภิปรายเหตุผลและเจตนารมณ์ในการแก้ข้อกฎหมายในกิจกรรมครั้งนี้ ที่มีประชาชนร่วมรับฟัง อย่างคับคั่ง

“หลังจากรณรงค์เรื่องนี้แล้ว บรรดากฎเกณฑ์ทั้งหลายทั้งปวงที่เกี่ยวพันกับสถาบันกษัตริย์ในรัฐธรรมนูญยังจะต้องมีการอภิปรายต่อไปอย่างกว้างขวางในสังคมไทย การนำเสนอกฎหมายนี้จึงเป็นเพียงก้าวแรกในการพูดถึงการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทย ดังนั้นเรื่องนี้จึงไม่จบอยู่ที่การนำเสนอเรื่องต่อประธานรัฐสภา แต่เป็นการพูดถึงการที่ระบอบกษัตริย์อยู่อย่างสง่างามในระบอบประชาธิปไตยและในเวทีระหว่างประเทศ”

ส่วนเหตุผลที่นิติราษฎร์เสนอในแนวทางแก้ไข ไม่ยกเลิกไปเลย เพราะเป้า ประสงค์หลักอยู่ที่การพยายามทำให้บทบัญญัติในเรื่องนี้ได้มาตรฐานสากล  คือในบรรดาประเทศที่เป็นราชอาณาจักร พบว่าประเทศเหล่านั้นแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มแรกไม่มีกฎหมายคุ้มครอง พระเกียรติของกษัตริย์ ราชินี และ รัชทายาทเป็นพิเศษ เช่น ญี่ปุ่น ซึ่งเคยมีกฎหมายลักษณะดังกล่าว แต่ยกเลิกไปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขณะเดียวกันหลายประเทศในยุโรป เช่น นอร์เวย์ สเปน มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ บางประเทศจำกัดไว้เฉพาะพระมหากษัตริย์ และผู้สำเร็จราชการ บางประเทศครอบ คลุมถึงบรรดาพระราชโอรส แต่ประเทศใดเลยที่กำหนดโทษเอาไว้สูงเท่าที่มีในประเทศไทย

“เมื่อผลการศึกษาออกมาเป็นเช่นนี้ คณะนิติราษฎร์ จึงเสนอยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพื่อทำให้บทบัญญัติมาตรานี้ ไม่เป็นบทบัญญัติในหมวดความมั่นคงอีกต่อไป และเพื่อ อนุวัตรให้เป็นไปตามบทกฎหมายในประเทศที่มีบทบัญญัติลักษณะนี้ เราจึงเสนอหมวดใหม่ เพื่อคุ้มครองกษัตริย์ รัชทายาทและผู้แทนพระองค์”

ส่วนกรณีที่อาจเกิดข้อโต้แย้งว่า ในรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ในมาตรา 8 ให้องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะล่วงละเมิดไม่ได้ การเสนอนี้จะขัดแย้งกับมาตรา 8 เขาอธิบายว่า ไม่ขัดแย้งกันเลย เพราะยังมีบทกำหนดโทษอยู่ เพียงแต่ปรับให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

“หวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิรูปว่าด้วยการดูหมิ่น หมิ่นประมาทในกฎหมายไทย แต่ในช่วงทางเดิน 112 วัน คงจะมีปัญหาบ้าง ก่อนที่จะทำร่างฯ นี้ออกมา เราได้ตรึกตรองว่าร่างฯ นี้ทำในกรอบที่จำกัดในกรอบรัฐธรรมนูญที่มีกฎเกณฑ์ร้อยรัดอยู่”

ก่อนที่ รศ.ดร.วรเจตน์ จะกล่าวสรุปว่า “ถึงเวลาที่จะทำให้เรื่องนี้เป็นรูปธรรม หมดเวลาที่จะพูดอยู่ในห้อง แต่ต้องทำให้ประเด็นนี้เข้าสู่สาธารณะ”

สำหรับเครือข่ายนักวิชาการ นักเขียน ที่ร่วมลงชื่อสนับสนุน 112 คนแรก ประกอบด้วยกลุ่มนักวิชาการ นักเขียน และศิลปินที่เป็นที่รู้จักกันดี ซึ่งกลุ่มบุคคลเหล่านี้ เป็นบุคคลที่ร่วมเคลื่อนไหวในรูปแบบเขียนจดหมายเปิดผนึก ออกแถลงการณ์ ข้อเสนอเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ นักวิชาการกลุ่ม สันติประชาธรรม กลุ่มเคลื่อนไหวรณรงค์ อาร์ติเคิล 112 ไอลอว์

สำหรับคณะทำงานเคลื่อนไหวรณรงค์ ในนาม ‘ครก.112′ ประกอบกลุ่มนักกิจกรรมทางสังคม นักเขียน นักวิชาการ ซึ่งล้วนเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบุคคลที่ได้ร่วมลงชื่อในอันดับต้นๆ ได้แก่

กลุ่มกรรมกรแดงเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการสร้างรัฐสวัสดิการให้กับแรงงาน
กลุ่มกวีราษฎร์ นำโดย รางชาง มโนมัย เดือนวาด พิมวนา
คณะนักเขียนแสงสำนึก นำโดย กลุ่มนักเขียนที่มีชื่อเสียง และนักเขียนซีไรต์
กลุ่มแดงสยาม นำโดย สุรชัย แซ่ด่าน กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อระชาธิปไตย, กลุ่มนิติม่อน, กลุ่มประชาคมจุฬาฯ เพื่อประชาชน, กลุ่มประชาคมศิลปากรเพื่อประชาชน
กลุ่มเพื่อนนักโทษการเมืองไทย  นำโดย สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
กลุ่มมหิดลเสรีเพื่อประชาธิปไตย, กลุ่มสันติประชาธรรม, กลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์, กลุ่มอาร์ติเคิล 112 มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน, คณะนิติราษฎร์
แนวร่วมนักเรียนนิสิตนักศึกษาเสรีชนล้านนา, สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)

เมื่อมีฝ่ายหนุนย่อมมีฝ่ายต้าน เพราะหลังการเปิดตัว ครก.112 เพียงไม่กี่ชั่วโมง ก็เกิดกลุ่มพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน หรือกลุ่มเสื้อหลากสี นำโดย นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ รวมตัวกันตั้งโต๊ะรวบรวมรายชื่อประชาชน ที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขมาตรา 112

อาจกล่าวได้ว่า ครก.112 ชุดนี้ ประกอบจากหลากหลายกลุ่มบุคคล  หลากหลายมุมมองเกี่ยวกับสถาบัน พระมหากษัตริย์ ซึ่งส่วนหนึ่งการเคลื่อนไหวครั้งนี้ก็มีเจตนารมณ์เพื่อผลักดันร่างแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112  ที่เดิมอยู่ในรูปแบบของจดหมายเปิดผนึกหรือแถลงการณ์เท่านั้น เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติโดยอาศัยสิทธิตามกฎหมาย และมุ่งหวังกระตุ้นนักการเมืองหันมาใส่ใจปัญหานี้อย่างแท้จริง

การต่อสู้กันทางความคิดของปัญญาชน นักวิชาการได้เกิดขึ้นอีกครั้ง จากนี้ย่อมขึ้นอยู่กับประชาชนส่วนใหญ่ จะคิดถึงพัฒนาการ ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยไว้ในรูปแบบใดบ้าง?

แถลงการณ์ของคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ต่อกรณีการเสียชีวิตของอากง

ขอไว้อาลัยต่อการจากไปของนายอำพล หรืออากง เหยื่อมาตรา 112
คณะกรรมการรณรงค์แก้ไขมาตรา 112
10 พฤษภาคม 2555
การเสียชีวิตของนายอำพล (ไม่เปิดเผยนามสกุล) หรืออากง ในทัณฑสถานอย่างฉับพลันเมื่อวันที่ 8 พ.ค. ที่ผ่านมา ได้สร้างความเศร้าสลดให้แก่คนในครอบครัวของอากง ที่ไม่มีแม้แต่โอกาสจะได้ล่ำลาก่อนที่อากงจะจากโลกนี้ไป คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) จึงขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวของคุณอำพล ที่ต้องเผชิญกับโศกนาฏกรรมอันเจ็บปวดครั้งนี้ เป็นโศกนาฏกรรมที่พวกเขาเองก็ไม่รู้ว่าจะเรียกร้องหาความยุติธรรมได้จากใคร
เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า คุณอำพลยืนยันตลอดมาว่าตนมีความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ เคยพาหลาน ๆ ไปโรงพยาบาลศิริราช เพื่อร่วมถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ได้เป็นคนเสื้อแดง ไม่เคยร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่มใด ภาระหน้าที่หลักของชายชราคนนี้คือ ดูแลหลาน 7 คน แต่เมื่อตกเป็นเหยื่อของกฎหมายอาญามาตรา 112 จึงทำให้กลายมาเป็น “นักโทษการเมือง” ในทันที ซึ่งได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของโศกนาฏกรรมของคุณอำพลและครอบครัว กล่าวคือ
· คำสั่งตัดสินจำคุกอากงถึง 20 ปีเพราะส่ง sms 4 ครั้ง แม้ว่าจะมี “ข้อกังขามากมาย” ต่อหลักฐานของฝ่ายอัยการก็ตาม ชี้ว่านักโทษคดีทางการเมืองที่ต้องถูกลงโทษอย่างรุนแรงที่สุดในสังคมไทยในศตวรรษนี้ ก็คือนักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เป็นการลงโทษที่ไม่ต้องคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน หลักมนุษยธรรม หรือเมตตาธรรมใด ๆ ทั้งสิ้น
· ด้วยเหตุอันเดียวกันนี้ “นักโทษการเมืองคดี 112” จึงมักถูกปฏิเสธสิทธิการประกันตน อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองทุกคน แม้ว่าคุณอำพลจะมีอายุมาก สุขภาพย่ำแย่ เคยป่วยเป็นมะเร็งในช่องปาก แต่ก็ไม่เป็นเหตุให้ได้รับสิทธิที่ควรได้รับแม้ว่าจะไม่ได้ป่วย
คุณอำพลไม่เคยมีประวัติทำร้ายใคร ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด แต่ศาลก็ยืนยันว่าเป็นคดีร้ายแรง แม้ว่าคุณอำพลจะยากจน การศึกษาน้อย ไม่มีญาติพี่น้องในต่างประเทศ แต่ศาลก็ยืนยันว่า คุณอำพลอาจหลบหนีได้ การยื่นขอประกันถึง 8 ครั้งจึงถูกปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงทุกครั้ง
หลักการและเหตุผลที่นักโทษการเมืองคดี 112 สมควรถูกลงโทษอย่างหนักนั้น ปรากฏชัดเจนในบทความ “’อากงปลงไม่ตก’เปิดคำเฉลย!ที่มาแห่งคดีโดยโฆษกศาล” ของนายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม (14 ธ.ค. 2554) ที่ว่า “สำหรับบุคคลที่เจนโลก โชกโชน สันดานเป็นโจรผู้ร้าย มีเจตนาทำร้ายสังคมสถาบันหลักของประเทศชาติและองค์พระประมุข อันเป็นที่เคารพสักการะของคนในชาติให้เกิดความหลงผิดก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง ผู้เขียนเชื่อว่า ไม่มีใครอยากให้คนเช่นนี้ลอยนวลอยู่ในสังคมเพื่อสร้างความเสียหายต่อเนื่อง หรือแก่ผู้อื่นอีก เพราะสักวันคนใกล้ตัวของคนเหล่านี้อาจตกเป็นเหยื่อด้วยก็ได้ มาตรการที่เหมาะสมจึงควรตัดโอกาสในการกระทำผิด ลงโทษให้หลาบจำสาสมไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น”
คงไม่ผิดนักที่จะชี้ว่า ทัศนคติดังกล่าวได้ครอบงำกระบวนการยุติธรรม หน่วยงานรัฐ นักการเมือง สื่อมวลชนและวัฒนธรรมการเมืองไทยกระแสหลัก ทัศนะคติและการปฏิบัติดังกล่าวจึงนำไปสู่ความตายของอากงในที่สุด
เฉพาะส่วนที่กล่าวว่า “ไม่มีใครอยากให้คนเช่นนี้ลอยนวลอยู่ในสังคมเพื่อสร้างความเสียหายต่อเนื่อง หรือแก่ผู้อื่นอีก เพราะสักวันคนใกล้ตัวของคนเหล่านี้อาจตกเป็นเหยื่อด้วยก็ได้” เป็นคำกล่าวที่ตลก คำว่า “อาจตกเป็นเหยื่อ” คืออะไร? หมายถึงอาจถูก “ดูหมิ่น หมิ่นประมาท” หรือ? หากเป็นเช่นนั้นก็ไม่ได้เป็นเรื่องน่ากลัวร้ายแรงแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องปรกติของการอยู่ร่วมในสังคมซึ่งสามารถดำเนินการไปตามกฎหมายปรกติ ประชาชนชาวไทยอยู่กันมาได้โดยไม่ต้องมีกฎหมายรุนแรงเกี่ยวกับการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้าย เพราะไม่ใช่ภัยร้ายแรงแต่อย่างใด ดูแต่คำกล่าวของโฆษกศาลฯ ที่ยกมานี้ ก็ถือได้ว่าเป็นข้อความหมิ่นประมาทนายอำพลโดยแท้ เนื่องจากคดีความยังไม่ถึงที่สุด เพราะผู้ต้องหายื่นอุทธรณ์ (ในขณะนั้น) ถ้าโฆษกศาลฯ ยังสามารถแสดงพฤติกรรมหมิ่นประมาทผู้อื่นได้โดยไม่มีความผิด การไม่ยอมปล่อยตัวนายอำพลชั่วคราวซึ่งเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญยิ่งไม่มีข้อแก้ตัวในทางสังคม
เราไม่ได้คาดหวังว่าผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโศกนาฏกรรมของครอบครัวอากงทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม จะเกิดสำนึกผิดในกรรมที่ตนได้กระทำไว้ แต่เราหวังว่าประชาชนที่ได้ติดตามคดีของอากงอย่างต่อเนื่อง และตระหนักถึงปัญหาของมาตรา 112 จะต้องช่วยกันผลักดันให้การแก้ไขมาตรา 112 บรรลุผลในวันข้างหน้า แม้ว่าจะต้องใช้เวลาเนิ่นนานก็ตาม


ครก.112" ออกแถลงการณ์ไว้อาลัย "อากง" พร้อมแจ้งกำหนดการเคลื่อนไหว 27 พ.ค.นี้



ขอไว้อาลัยต่อการจากไปของนายอำพล หรืออากง เหยื่อมาตรา 112
 คณะกรรมการรณรงค์แก้ไขมาตรา 112
10 พฤษภาคม 2555

การเสียชีวิตของนายอำพล (ไม่เปิดเผยนามสกุล) หรืออากง ในทัณฑสถานอย่างฉับพลันเมื่อวันที่ 8 พ.ค. ที่ผ่านมา ได้สร้างความเศร้าสลดให้แก่ครอบครัวของนายอำพลอย่างยิ่ง พวกเขาไม่มีแม้แต่โอกาสจะได้ร่ำลาก่อนที่นายอำพลจะจากโลกนี้ไป  คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) จึงขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวของนายอำพล ที่ต้องเผชิญกับโศกนาฏกรรมอันเจ็บปวดครั้งนี้  เป็นโศกนาฏกรรมที่พวกเขาเองก็ไม่รู้ว่าจะเรียกร้องหาความยุติธรรมได้จากใคร

เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า นายอำพลยืนยันตลอดมาว่าตนมีความจงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ เคยพาหลานๆ ไป รพ. ศิริราช เพื่อร่วมถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แม้จะเคยไปร่วมชุมนุมกับทั้งคนเสื้อเหลืองและเสื้อแดง แต่นายอำพลก็ไม่ได้เป็นคนเสื้อแดง ภาระหน้าที่หลักของชายชราคนนี้คือ ดูแลหลาน 7 คน แต่เมื่อตกเป็นเหยื่อของกฎหมายอาญามาตรา 112 จึงทำให้เขากลายมาเป็น "นักโทษการเมือง" ในทันที ซึ่งนี่เป็นจุดเริ่มต้นของโศกนาฏกรรมของนายอำพลและครอบครัว กล่าวคือ

•       คำตัดสินจำคุกนายอำพลถึง 20 ปีเพราะส่ง sms 4 ครั้ง แม้ว่าจะมี "ข้อกังขามากมาย" ต่อหลักฐานของฝ่ายอัยการก็ตาม  ชี้ว่าสังคมไทยในปัจจุบัน นักโทษการเมืองคดี 112 คือผู้ที่ต้องถูกลงโทษอย่างรุนแรงที่สุด  และเป็นการลงโทษที่ไม่ต้องคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน หลักมนุษยธรรม หรือเมตตาธรรมใดๆ ทั้งสิ้น

•       ด้วยเหตุอันเดียวกันนี้ "นักโทษการเมืองคดี 112" จึงมักถูกปฏิเสธสิทธิการประกันตน อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองทุกคน แม้ว่านายอำพลจะมีอายุมาก สุขภาพทรุดโทรม เคยป่วยเป็นมะเร็งในช่องปาก ไม่เคยทำร้ายใคร ยากจน การศึกษาน้อย ไม่มีญาติพี่น้องในต่างประเทศ ศาลก็ปฏิเสธไม่ให้ประกันตนถึง 8 ครั้ง ด้วยข้ออ้างว่าเป็นคดีร้ายแรง กลัวจะหลบหนี
 
สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับนักโทษการเมืองคดี 112 คนอื่นๆ เช่นกัน มันจึงชี้ว่านักโทษการเมืองคดี 112 ได้ถูกละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานมากเสียยิ่งกว่านักโทษคดีอาญาทั่วไป

เหตุผลที่นักโทษการเมืองคดี 112 มักถูกลงโทษอย่างรุนแรงนั้น ปรากฏชัดเจนในบทความ "อากงปลงไม่ตก′เปิดคำเฉลย!ที่มาแห่งคดีโดยโฆษกศาล" ของนายสิทธิศักดิ์ วนะชกิจ โฆษกศาลยุติธรรม (14 ธ.ค. 2554) ที่ว่า  "สำหรับบุคคลที่เจนโลก โชกโชน สันดานเป็นโจรผู้ร้าย มีเจตนาทำร้ายสังคมสถาบันหลักของประเทศชาติและองค์พระประมุข อันเป็นที่เคารพสักการะของคนในชาติให้เกิดความหลงผิดก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง ผู้เขียนเชื่อว่า ไม่มีใครอยากให้คนเช่นนี้ลอยนวลอยู่ในสังคมเพื่อสร้างความเสียหายต่อเนื่อง หรือแก่ผู้อื่นอีก เพราะสักวันคนใกล้ตัวของคนเหล่านี้อาจตกเป็นเหยื่อด้วยก็ได้ มาตรการที่เหมาะสมจึงควรตัดโอกาสในการกระทำผิด ลงโทษให้หลาบจำสาสมไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น"

คงไม่ผิดนักที่จะชี้ว่า ทัศนคติดังกล่าวได้ครอบงำกระบวนการยุติธรรม หน่วยงานรัฐ นักการเมือง สื่อมวลชนและวัฒนธรรมการเมืองไทยกระแสหลัก  ทัศนคติและการปฏิบัติข้างต้นจึงนำไปสู่ความตายของนายอำพลในที่สุด

เฉพาะส่วนที่นายสิทธิศักดิ์กล่าวว่า "ไม่มีใครอยากให้คนเช่นนี้ลอยนวลอยู่ในสังคมเพื่อสร้างความเสียหายต่อเนื่อง หรือแก่ผู้อื่นอีก เพราะสักวันคนใกล้ตัวของคนเหล่านี้อาจตกเป็นเหยื่อด้วยก็ได้" เป็นคำกล่าวที่ไร้สาระ คำว่า "อาจตกเป็นเหยื่อ" คืออะไร? หมายถึงอาจถูก "ดูหมิ่น หมิ่นประมาท" หรือ? หากเป็นเช่นนั้นก็ไม่ได้เป็นเรื่องน่ากลัวร้ายแรงแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องปรกติของการอยู่ร่วมกันในสังคมซึ่งสามารถดำเนินการตามกฎหมายปรกติ ประชาชนชาวไทยอยู่กันมาได้โดยไม่ต้องมีกฎหมายรุนแรงเกี่ยวกับการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้าย เพราะไม่ใช่ภัยร้ายแรงแต่อย่างใด  แม้แต่คำกล่าวของโฆษกศาลฯ ที่ยกมานี้ ก็ถือได้ว่าเป็นข้อความหมิ่นประมาทนายอำพลโดยแท้  ถ้าโฆษกศาลฯ ยังสามารถแสดงพฤติกรรมหมิ่นประมาทผู้อื่นได้โดยไม่มีความผิด การไม่ยอมปล่อยตัวนายอำพลชั่วคราวซึ่งเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญยิ่งไม่มีข้อแก้ตัวในทางสังคม

ในทางตรงกันข้าม เราควรเปลี่ยนคำบางคำของโฆษกศาลเสียใหม่ว่า "ไม่มีใครอยากให้กฎหมายอยุติธรรมนี้ลอยนวลอยู่ในสังคมเพื่อสร้างความเสียหายต่อเนื่อง หรือแก่ผู้อื่นอีก เพราะสักวันคนใกล้ตัวของคนเหล่านี้ อาจตกเป็นเหยื่อด้วยก็ได้"

เราไม่ได้คาดหวังว่าผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโศกนาฏกรรมของครอบครัวนายอำพลทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม จะสำนึกผิดในกรรมที่ตนได้กระทำไว้ แต่เราหวังว่าประชาชนที่ได้ติดตามคดีของนายอำพลอย่างต่อเนื่อง  และตระหนักถึงปัญหาของมาตรา 112 จะช่วยกันทำให้กฎหมายที่ อยุติธรรมนี้ยุติการทำร้ายประชาชนเสียที แม้ว่าจะต้องใช้เวลานานก็ตาม

----------------
               
อนึ่ง การเสียชีวิตของนายอำพล ทำให้ผู้สื่อข่าวจำนวนมากได้สอบถามเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของ ครก.112  เราจึงเห็นควรแถลงข่าวก่อนเวลาที่กำหนดไว้ดังนี้

1.             การรณรงค์เพื่อรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อเสนอ "ร่างแก้ไขประมวลอาญามาตรา 112 ของคณะนิติราษฎร์" ได้ครบกำหนด 112 วัน เมื่อวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมา ในขณะนี้ ทางครก.112  ได้รับรายชื่อมากกว่าหนึ่งหมื่นแล้ว อันเป็นจำนวนขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด เราจะแจ้งจำนวนที่แน่ชัดอีกครั้งในวันที่ 27 พ.ค.นี้ เนื่องจากยังมีเอกสารจำนวนมากที่ยังไม่ได้ตรวจนับ และประชาชนยังทยอยส่งรายชื่อเข้ามาอย่างสม่ำเสมอ

2.             ครก.112 กำหนดให้มีการจัดงาน "บันทึก 112 วัน แก้ไข ม.112" ในวันอาทิตย์ที่ 27 พ.ค.นี้ เพื่อสรุปและปิดการรณรงค์การรวบรายชื่อเพื่อแก้ไขมาตรา 112 ดังรายละเอียดที่ด้านล่างนี้

งาน "บันทึก 112 วัน แก้ไข ม.112"

วันที่ 27 พ.ค. 55 ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทน์

13.00-13.15 น.   "ครก. แถลง" โดย

-วาด รวี  กลุ่มแสงสำนึก

- ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์

13.15-13.45 น.    "เสียงจากเหยื่อ 112"

13.45-14.00 น.   บทกวี โดย ไม้หนึ่ง ก. กุนที, กฤช เหลือลมัย, คาล รีอัล

14.00-15.00 น.  เล่าประสบการณ์ "อ้อมกอดและกำปั้น 112 วัน ของการรณรงค์"              
- วาด รวี                 กลุ่มแสงสำนึก

- สุดา รังกุพันธุ์   อักษรศาสตร์ จุฬาฯ

- ปิยะบุตร แสงกนกกุล     คณะนิติราษฎร์

- เวียงรัฐ เนติโพธิ์              รัฐศาสตร์ จุฬาฯ   ดำเนินรายการ

15.00-15.15 น.   แสดงดนตรีโดย วง  the Middle Finger

15.15-17.00 น.   เสวนา "ปรากฏการณ์ 112 ริกเตอร์"                               
- ชาญวิทย์ เกษตรศิริ          นักวิชาการอิสระ
                               
- นิธิ เอียวศรีวงศ์                 นักวิชาการอิสระ
                               
- วรเจตน์ ภาคีรัตน์             คณะนิติราษฎร์
                               
- พวงทอง ภวัครพันธุ์        ดำเนินรายการ

พิธีกรตลอดรายการ             วันรัก สุวรรณวัฒนา  คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์